ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ดิ อะเมซิ่ง เรซ (อเมริกา)

ดิ อะเมซิง เรซ (The Amazing Race) หรือชื่อย่อว่า TAR เป็นรายการเรียลลิตี้เกมส์โชว์ทางโทรทัศน์ ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งเป็นทีมละสองคน (มียกเว้น 1 ครั้ง คือครั้งที่ 8) ออกเดินทางรอบโลกเพื่อแข่งขันกับทีมอื่นๆ โดยพยายามเดินทางให้ถึงจุดหมายในแต่ละรอบให้ได้เร็วที่สุดและระหว่างเดินทางจะต้องทำภารกิจแต่ละรอบที่มอบหมายให้สำเร็จ การแข่งขันเดินทางไปในหลายประเทศ ใช้พาหนะในการเดินทางหลากหลาย เช่น เครื่องบิน, แท็กซี่ , รถเช่า, รถไฟ, รถประจำทาง, เรือ ได้รางวัล แอมมี่อวอร์ด เรียลลิตี้เกมส์โชว์ประเภทพรามไทม์มาตลอดนั้นตั้งแต่เริ่มมีการประกวดรางวัลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 แบบผูกขาด ซึ่งทำให้รายการนี้โด่งดังเป็นอย่างมาก จุดเด่นของรายการจะถ่ายทำยากมากและใช้งบประมาณสูงเนื่องจากค่าเดินทางและจ้างคนท้องถิ่นทำงานเพื่อถ่ายทำในแต่ละฤดูกาล โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวฉายทางซีบีเอสและเริ่มออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 โดยมีชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน ซึ่งเป็นทั้งพิธีกรและผู้ร่วมผลิตรายการด้วย

จนถึงปัจจุบันและในแต่ละตอนมีผู้ชมเฉพาะในสหรัฐอเมริกากว่า 10 ล้านคน ทั้งนี้ยังไม่รวมจำนวนอีกหลายล้านคนที่ดูรายการนี้ผ่านทางเครือข่ายอื่นๆ อีกทั่วโลก

รูปแบบรายการในการผลิตต่อๆ มาไม่ต่างจากแบบแผนในฤดูกาลแรกมากนัก คือ ทีมสุดท้ายที่มาถึงจุดพักจะถูกคัดออกหรืออาจจะถูกคัดออก การแข่งขันจะเริ่มต้น ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมจะต้องอ่านคำใบแรกที่ให้ไว้และเดินทางตามคำสั่งที่มีทั้ง เครื่องบิน , รถเช่า , แท็กซี่ , เรือ , รถประจำทาง , รถไฟ ไปยังที่สถานที่ต่างๆ รอบโลกตามที่กำหนดไว้ให้เร็วที่สุด โดยปกติแล้วการแข่งขันจะวนกลับมาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย ซึ่งในการที่จะได้คำใบ้ต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางนั้นทีมจะต้องทำภารกิจต่างๆ ที่ให้ไว้ในโจทย์คำสั่ง (สามารถดูคำสั่งได้จากหัวข้อ คำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการแข่งขัน) ในแต่ละช่วงการแข่งขันทีมจะได้เงินสดส่วนมากมาในรูปของ ดอลล่าสหรัฐอเมริกา จำนวนหนึ่งซึ่งต้องใช้อย่างคุ้มค่าในการแข่งขัน โดยเงินจำนวนนั้นต้องนำมาจ่ายทุกอย่างที่ใช้สำหรับการแข่งขันยกเว้นค่าตั๋วเครื่องบินที่อนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตจ่ายแทนได้ การผลิตของ The Amazing Race เป็นการทำงานที่ยากมากงานหนึ่งและแตกต่างจากเรียลลิตี้เกมโชว์อื่นๆ อย่างสิ้นเชิงเพราะการทำงานจะต้องย้ายสถานที่ไปตามที่แข่งขันตลอดเวลา ทั้งๆ ที่รายการนี้ถ่ายทำได้ยากมากแต่ก็ยังได้เข้าชิงรางวัล Primetime Emmy Awards ในสาขาต่างๆ เป็นเรื่อยมาตั้งแต่รายการออกอากาศถึง 40 รางวัลและคว้ามาได้มากถึง 12 รางวัล

การถ่ายทำดิ อะเมซิ่ง เรซ ถือเป็นความท้าทางอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นรายการที่แข่งขันไปทั่วโลก ทำให้ก่อนการถ่ายทำนั้นทีมงานจะต้องวางแผนเรื่องสถานที่ ภารกิจระหว่างการแข่งขัน การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันและการส่งทีมงานเพิ่มเติมไปสนับสนุน ให้รอบคอบและสำเร็จไปได้ด้วยดี รวมทั้งการจ้างให้คนท้องถิ่นช่วยประสานงานเปรียบเสมือนผู้ช่วยทีมงานใน 1 ฤดูกาลทางผู้ผลิตกล่าวว่าจะต้องพบเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตาจากต่างประเทศโดยรวมแล้วกว่า 2,000 คนและทีมงานอีกกว่าร้อยชีวิต ท่ามกลางหน้าที่อันยากลำบากที่ผู้ผลิตจะต้องเผชิญระหว่างการแข่งขัน รายการนี้ใน 1 ฤดูกาล "ใช้งบประมาณมากที่สุดรายการหนึ่ง ทีมงานร่วมผลิตมากที่สุด การถ่ายทำยากลำบากมากที่สุด การวางแผนการทำงานมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด" ระหว่างการแข่งขันช่างกล้องกับช่างเสียง 2 คน จะต้องติดตามทีมผู้เข้าแข่งขันและพิธีกรตลอดเวลา ซึ่งหลังจากการถ่ายทำ ตัดต่อและได้ฟิล์มสุดท้ายที่จะนำไปออกอากาศแล้ว ทั้งทีมงานและสมาชิกในทีมจะต้องรับผิดชอบในการไม่เปิดเผยเนื้อความในรายการ (สปอยเลอร์) ที่จะทำให้มีผู้ทราบสถานที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือผลการแข่งขัน จนกว่าการแข่งขันจะออกอากาศจนจบ

หลังจากผ่านความพยายามมาอย่างหนัก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับรางวัลหลายรางวัล รวมทั้งรางวัลเอ็มมีสำหรับรายการเรียลลิตี้โชว์ประเภทการแข่งขันยอดเยี่ยมและยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในรางวัลเอ็มมีในด้านเสียง การถ่ายทำวิดีโอ และการตัดต่อวิดีโออีกด้วย

ดิ อะเมซิ่ง เรซ มีความพยายามอย่างมากที่จะเปลี่ยนการถ่ายทำจากโทรทัศน์มาตรฐานเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงในช่วงก่อนปี ค.ศ.2010 โดยที่หลายๆ รายการได้ทำการเปลี่ยนการถ่ายทำเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ไม่ว่าจะเป็น Survivor , The Biggest Loser , American Idol , America's Got Talent ฯลฯ แต่เนื่องจากการถ่ายทำที่ยากลำบากที่ตากล้องจะต้องวิ่งตลอดเวลาทำให้ภาพจะออกมาไม่ดีนักรวมถึงต้องใช้ภาพจากแฟ้มภาพที่มีอยู่มาตัดต่อเข้าไปในรายการเพื่อความสมจริง ในท้ายที่สุดแล้วตั้งแต่ฤดูกาลที่ 18 (ต้นปี ค.ศ. 2011) ดิ อะเมซิ่ง เรซ จะทำการออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงบวกกับยังคงใช้ภาพจากแฟ้มภาพควบคู่กันไปซึ่งทางทีมงานได้กล่าวไว้ว่าจะต้องทำในลักษณะนี้ให้ได้อย่างสมดุลและเหมาะสมที่สุด

ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 10 - 12 ทีม ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ จะเป็นทีมผู้เข้าแข่งขันสองคนที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว (ยกเว้นหนึ่งครั้งในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา คือ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 8 แข่งขันเป็นครอบครัวทีมละ 4 คน) จากจำนวนทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด ทีมที่เข้าแข่งขันล้วนแสดงให้เห็นถึงสถิติของอายุ การเข้ากันทางเพศ และความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ในการแข่งขันที่พบเห็นเช่นคู่แต่งงานที่แต่งงานกันมานานแล้ว คู่พี่น้อง (รวมถึงแฝด) คู่พ่อแม่ (รวมถึงหลานกับปู่ย่าตายาย) เพื่อน (เพื่อนร่วมห้อง, เพื่อนนักศึกษา, เพื่อนรักซึ่งเป็นเพศเดียวกัน, เพื่อนในโรงเรียนมัธยม, เพื่อนที่คบกันมานาน และเพื่อนในลักษณะอื่น ๆ) คู่รักโรแมนติก (ทั้งรักต่างเพศ และ รักเพศเดียวกัน) รวมไปถึงคู่สามีภรรยาที่เพิ่งเดทกันหรือแยกกันอยู่ กลไกความสัมพันธ์ในหลายด้านระหว่างสมาชิกในทีม ในระหว่างการแข่งขันเป็นหนึ่งในจุดสนใจของรายการ สมาชิกในทีมจะต้องแข่งขันร่วมกัน โดยไม่สามารถแยกกันได้ (ยกเว้นคำสั่งบอกให้ทำเป็นเวลาชั่วคราว) หากมีสมาชิกของทีมบาดเจ็บและไม่สามารถจบการแข่งขันได้ ทีมจะต้องถูกทำโทษ (เช่นมาร์แชลล์กับแลนซ์ในซีซั่นที่ 5) สมาชิกในทีมทั้งสองคนยังจะต้องเข้ามาที่จุดหยุดพักด้วยกันเพื่อเช็กอิน ทิศทางในการแข่งขันหลายอย่างเช่น ตัวผู้เข้าแข่งขันเอง การออกอากาศการแข่งขัน การโปรโมตการแข่งขันและการสนทนาระหว่างฟิลกับทีมที่ถูกคัดออกนั้น จะเป็นตัวเน้นผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขัน แรกเริ่มแล้วผู้สมัครในการแข่งขันจะต้องรู้จักและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมาอย่างน้อย 3 ปี และผู้เข้าแข่งขันในคนละทีมกันจะต้องไม่รู้จักกันมาก่อนแล้ว ซึ่งจะทำให้มีการออกอากาศความสัมพันธ์ในทีมได้อย่างถูกต้องโดยที่ไม่ต้องยุ่งยากกับความสัมพันธ์ระหว่างทีม

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิดรายการก็ได้ตัดกฎนี้ออกไปในซีซั่นหลัง ๆ เช่น คริสกับจอห์น (ซีซั่นที่ 6) เป็นคู่เดททางไกลมาเป็นเพียงแค่ 1 ปี หรือในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันหลายคนใน ซีซั่นที่ 5 ได้เคยแข่งขันกันมาก่อนในเวทีประชันความงาม (นิโคลชนะคริสตี้ในเวทีมิสเทกซัส ใน 2003) อีริคกับแดนเนียล (ซีซั่นที่ 11) ได้พบกันมาก่อนเป็นเวลาเพียงแค่ 1 ปีหลังจากแข่งอยู่คนละทีมในซีซั่นที่ 9 อย่างไรก็ดีสุดท้ายแล้วใบสมัครและคุณสมบัติการเข้ารับเลือกของซีซั่นที่ 14 (แจกจ่ายในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ที่เว็บไซต์ของซีบีเอส) ได้ยกเลิกข้อกำหนดเรื่องความสัมพันธ์ก่อนการแข่งขันแล้ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วสมาชิกในทีมจะมีความสัมพันธ์กันมาก่อนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม

การแข่งขันในแต่ละด่านจะประกอบไปด้วย งานทางแยก และ งานอุปสรรค แต่ในบางเลกอาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีงานเสริมที่ไม่จัดเป็นภารกิจหลักอีกมากมาย บางเลกอาจมี ทางด่วน ให้ใช้เพื่อนข้ามกิจกรรมทั้งหมดของเลกนั้นไปยังจุดพักเลย แต่ทีมสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวตลอดการแข่งขันทั้งหมดเท่านั้น เมื่อจบแต่ละเลกผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลาพัก 12 ชั่วโมงแต่ในบางกรณีอาจมากกว่านั้นโดยสูงสุดอยู่ที่ 60 ชั่วโมงซึ่งเกิดขึ้นในฤดูกาลที่ 1 ที่ทีมงานเปลี่ยนแปลงสถานที่กะทันหันและยังสามารถแยกเลกในการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้

ในช่วงเริ่มต้นของแต่ละเลก แต่ละทีมจะได้รับเงินสดเป็นค่าใช้จ่ายพร้อมกับซองคำใบ้แรก ซึ่งในระหว่างการแข่งขัน ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (อาหาร , การเดินทาง , ค่าที่พัก , ค่าเข้าชมสถานที่ในการแข่งขัน และอุปกรณ์ต่าง ๆ) จะต้องใช้เงินสดนี้ในการจ่าย ยกเว้นการซื้อตั๋วเครื่องบิน (และการจ่ายค่าน้ำมัน ในซีซั่นที่ 8) จะต้องใช้บัตรเครดิตที่ทางรายการมีให้ หากมีเงินเหลืออยู่ระหว่างเลก ทีมสามารถนำไปใช้ในเลกต่อไปได้ สำหรับในฤดูกาลก่อน ๆ ทีมสามารถใช้บัตรเครดิตในการจองตั๋วผ่านทางโทรศัพท์และการจองตั๋วออนไลน์ ได้ แต่ในซีซั่นที่ 12 ทีมจะสามารถใช้บัตรเครดิตได้ในการจองตั๋วที่แท่นขายตั๋วเท่านั้น (แต่ทีมยังสามารถใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ในการค้นหาเที่ยวบินที่พวกเขาเห็นว่าดีที่สุด)

เงินในที่นี้จะให้เป็นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าทีมจะอยู่ในประเทศใด ๆ ก็ตาม (กฎนี้มีข้อยกเว้นในเลก 4 ของ ซีซั่นที่ 10 ในประเทศเวียดนาม ที่ให้เงินเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (ด่อง) โดยจำนวนเงินที่ให้ในแต่ละเลกนั้นแตกต่างออกไปตั้งแต่ไม่ให้เงินจนถึงหลายร้อยดอลลาร์ (ในซีซั่นที่ 1 , ซีซั่นที่ 10 , ซีซั่นที่ 12 มีอยู่หนึ่งเลกที่ทางรายการไม่ได้ให้เงินและในซีซั่นที่ 4 ทางรายการให้เงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับ 2 เลกสุดท้าย และตั้งแต่ ซีซั่นที่ 5 ถึง ซีซั่นที่ 9 ทีมที่เข้าสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกจะถูกบังคับให้คืนเงินทั้งหมด และจะไม่ได้รับเงินใช้ในเลกต่อไป

หากทีมใช้เงินหมดในระหว่างการแข่งขันหรือถูกยืดเงิน ทีมสามารถพยายามหาเงินได้ในวิธีที่ไม่ผิดกฎหมายท้องถิ่น เช่น การยืมเงินจากทีมอื่น การขอเงินจากคนท้องถิ่นหรือขายทรัพย์สินติดตัว โดยทีมจะต้องทำการขายทรัพย์สินส่วนตัวให้เป็นเงิน ก่อนที่จะนำมาใช้จ่ายต่อในการแข่งขัน ซึ่งเป็นกฎว่าทีมห้ามนำทรัพย์สินแลกแทนค่าใช้จ่ายอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกบทลงโทษ (แต่มีกฎข้อหนึ่งที่เห็นชัดเจนในซีซั่นที่ 7 คือ "ห้ามทีมขอเงินในท่าอากาศยานในสหรัฐอเมริกา" นอกจากนี้ในเลก 3 (มองโกเลีย  เวียดนาม) ของซีซั่นที่ 10 ทีมไม่ได้รับอนุญาตให้ขอเงินหรือขายทรัพย์สินติดตัวเพื่อแลกกับเงินด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

ทีมที่จำเป็นจะต้องใช้เงินฉุกเฉินประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถขอเงินจำนวนนี้มาใช้ได้จากทีมงานถ่ายทำที่จะถือเงินจำนวนนี้ไว้ แต่ต้องเป็นในกรณีเร่งด่วนเท่านั้นและโดยทั่วไปแล้วเงินเร่งด่วนนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน อย่างไรก็ดีจำนวนเงินนี้ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนและ "สถานการณ์เร่งด่วน" ที่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนนี้ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเช่นกัน

ทุกทีมจะต้องปฏิบัติตามกฎกติกาที่วางไว้เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน หากทีมใดไม่ปฏิบัติตาม อาจส่งผลกระทบต่อโทษปรับเวลาที่อาจส่งผลต่อลำดับในการจบการแข่งขันในเลกนั้น ๆ ของทีม อย่างไรก็ดี กฎการแข่งขันอย่างเป็นทางการไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกมาสู่ผู้ชม แต่มีกฎกติกาบางส่วนที่เผยแพร่ออกมาในรูปของการบังคับใช้ในหลาย ๆ ครั้งระหว่างการแข่งขัน โดยกฎกติกาที่มีการเปิดเผยมีดังนี้

บทลงโทษและการชดเชยเวลาส่วนมากแล้วจะมีผลเมื่อทีมมาถึงจุดหยุดพัก โดยไม่สนว่าการกระทำผิดเกิดขึ้นในช่วงใดของเลก ฟิลจะบอกให้ทีมลงจากพรมเช็กอินก่อน แล้วรอจนกว่าโทษปรับเวลาจะหมด ซึ่งจะทำให้ทีมอื่น ๆ เข้าเช็กอินได้ในระหว่างนั้น ข้อยกเว้นสำหรับกรณีนี้คือทีมที่ไม่สามารถทำงานอุปสรรคได้ จะได้รับโทษปรับเวลา 4 ชั่วโทงทันทีที่ตัดสินใจถอนตัวหรือไม่ทำ รวมถึงไม่สามารถทำงานทางแยกได้ จะโดนปรับเวลา 24 ชั่วโมงทันทีเช่นกัน (ร็อบกับแอมเบอร์ใช้ประโยชน์จากข้อยกเว้นนี้ในซีซั่นที่ 7 จึงทำให้พวกเขายังอยู่ในการแข่งขัน) ในบางครั้งบทลงโทษอาจมีการประกาศหลังจากจบเลกนั้นแล้ว แต่ในบางครั้งไม่มีการออกอากาศ เพราะไม่ได้ส่งผลต่อลำดับของพวกเขา (นิคกับสตาร์ในซีซั่นที่ 13 เลกที่ 4) อย่างไรก็ดีก็สามารถสรุปได้ว่ามีบทลงโทษนั้น ๆ เกิดขึ้น โดยสรุปแล้ว บทลงโทษที่จะออกอากาศทางโทรทัศน์จะมีเพียงบทลงโทษที่ส่งผลกระทบต่อลำดับของทีมเท่านั้น (เช่น ฮีเธอร์กับอีฟในซีซั่นที่ 3 และเทอเรนซ์กับซาร่าห์ในซีซั่นที่ 13)

ในการถ่ายทำรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในแต่ละฤดูกาลจะมีการแข่งขันทั้งหมด 11-13 เลกด้วยกันแล้วแต่ระยะการถ่ายทำในแต่ละฤดูกาลโดยจากทั้งหมด 20 ฤดูกาลในขณะนี้ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ได้เดินทางไปถ่ายทำแล้วทั้งหมด 82 ประเทศ

ในแต่ละเลกของการแข่งขันทีมที่เข้ามาถึงเป็นลำดับที่ 1 อาจจะได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัล แต่ทุกๆ ทีมจะได้รับเงินรางวัลหลังจบการแข่งขันโดยดูจากลำดับที่ของแต่ละทีมดังนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301